Menu

  • ลักษณะน้ำเสียทางเคมี น้ำเสีย หมายถึง น้ำที่มีสิ่งเจือปนต่างๆในปริมาณสูง จนกระทั่งกลายเป็นน้ำที่ไม่เป็นที่ต้องการและเป็นที่น่ารังเกียจของคนทั่วไป น้ำเสียก่อให้เกิดปัญหาต่างๆแก่ลำน้ำซึ่งเป็นที่รองรับ เช่น ทำให้เกิดการเน่าเหม็นหรือเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เป็นต้น

    สิ่งเจือปนต่างๆ ในน้ำกลายเป็นน้ำเสีย ได้แก่ สารอินทรีย์ต่างๆ กรด ด่าง ของแข็งหรือสารแขวนลอย และสิ่งที่ลอยปนอยู่ในน้ำ เช่น น้ำมัน ไขมัน เกลือและแร่ธาตุที่เป็นพิษ เช่น โลหะหนัก สารที่ทำให้เกิดฟอง ความร้อน สารพิษเช่น ยาฆ่าแมลง สี กลิ่น และสารกัมมันตภาพรังสี เป็นต้น

    กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางเคมี
    กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางเคมีเหมาะสำหรับน้ำเสียที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ
    1. มีกรดหรือมีด่างสูงเกินไป (พีเอชต่ำหรือสูงเกินไป)
    2. มีโลหะหนักที่เป็นพิษ เช่น สังกะสี ดีบุก โครเมียม แคดเมียม ฯลฯ
    3. มีสารแขวนลอยขนาดเล็กที่ตกตะกอนได้ยาก หรือมีสารพวกคอลลอยด์ซึ่งตกตะกอนได้ช้า
    4. มีสารประกอบอนินทรีย์ละลายน้ำที่เป็นพิษ เช่น ซัลไฟด์
    5. มีไขมันหรือน้ำมันละลายน้ำ

    กระบวนการทางเคมีที่ใช้บำบัดน้ำเสีย ได้แก่ กระบวนการโคแอกกูเลชัน (Coagulation), กระบวนการฟล็อกคูเลชัน (Flocculation), กระบวนการตกตะกอนผลึก (Precipitation), กระบวนการทำให้เป็นกลาง (Neutralization), กระบวนการแลกเปลี่ยนไอออน (Ion exchange), และกระบวนการออกซิเดชัน-รีดักชัน (Oxidation-Reduction) เป็นต้น


    กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางเคมี มีระบบการทำงานหลัก 2 แบบ ดังต่อไปนี้

    1. ระบบบำบัดน้ำเสียเคมีแบบทำงานเป็นรอบ (CWWTP. BATCH TANK UNIT)

     

     

    2. ระบบบำบัดน้ำเสียเคมีแบบทำงานต่อเนื่อง (CWWTP. CONTINUOUS UNIT) 

     

     

We Offer for you

Quote Quotation



PRODUCT REFERENCE


Our Customer