Menu

Home / Article

คาวิเทชั่น (Cavitation) หรือปรากฏการณ์การเกิดโพรงไอ เป็นปรากฏการณ์ในการเปลี่ยนสถานะของน้ำจากของเหลวเป็นไอและมีปริมาตรเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายตัวและยุบตัวลงในภายหลังเนื่องมาจากเมื่อน้ำไหลผ่านส่วนต่างๆของปั้มนั้น

คาวิเทชั่น (Cavitation) หรือปรากฏการณ์การเกิดโพรงไอ เป็นปรากฏการณ์ในการเปลี่ยนสถานะของน้ำจากของเหลวเป็นไอและมีปริมาตรเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายตัวและยุบตัวลงในภายหลังเนื่องมาจากเมื่อน้ำไหลผ่านส่วนต่างๆของปั้มนั้น

คาวิเทชั่น (CAVITATION) คืออะไร

คาวิเทชั่น (CAVITATION) คืออะไร


คาวิเทชั่น (Cavitation) หรือปรากฏการณ์การเกิดโพรงไอ เป็นปรากฏการณ์ในการเปลี่ยนสถานะของน้ำจากของเหลวเป็นไอและมีปริมาตรเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายตัวและยุบตัวลงในภายหลังเนื่องมาจากเมื่อน้ำไหลผ่านส่วนต่างๆของปั้มนั้น น้ำจะเปลี่ยนแปลงความเร็วในการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาอันเนื่องมาจากพื้นที่หน้าตัดที่เปลี่ยนแปลงหรือรูปร่างลักษณะของปั้มและสถานการณ์อื่น ๆ ที่ส่งผลให้แรงดันของน้ำเพิ่มขึ้นและลดลงอยู่ตลอดเวลาโดยลำดับขั้นตอนในการเกิดโพรงไอโดยคร่าว ๆ มีดังนี้คือ

* เกิดลดลงของแรงดันน้ำในปั้มเนื่องจากการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงผ่านจุดที่มีพื้นที่เล็กด้วยอัตราการไหลของน้ำที่คงที่ หรือน้ำที่เคลื่อนที่อยู่บริเวณปลายใบพัดของปั้ม ทำให้แรงดันตรงจุดนั้นของน้ำลดลงต่ำกว่าแรงดันไอของน้ำทำให้น้ำเกิดการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไอหรือฟองไอ (Bubbles or Gas Bubbles) ที่แรงดันต่ำกว่าแรงดันไอการระเหยกลายเป็นฟองไอของน้ำที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงดังกล่าวนั้น ทำให้ปริมาตรเพิ่มขึ้นจากเดิมถึงสูงสุดประมาณ 1,700 เท่าโดยมีลักษณะเป็นฟองสีขาวเคลื่อนที่อยู่ในน้ำที่มองเห็นด้วยตาเปล่า และฟองไอขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
* เมื่อฟองไอ (Bubbles or Gas Bubbles) ที่เกิดขึ้นเคลื่อนที่ต่อไปและเข้าสู่ในจุดที่มีแรงดันในน้ำสูง เช่น ผ่านจุดที่มีพื้นที่หน้าตัดใหญ่ขึ้นก็จะมีความเร็วในการเคลื่อนที่ลดลง ดังนั้นแรงดัน ณ จุดดังกล่าวจึงสูงขึ้นและไปบีบหรือกดให้ฟองไอดังกล่าวเกิดการยุบตัว และการยุบตัวที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว อัตราส่วนปริมาตรในการยุบตัวของฟองไอจากแรงกดเนื่องจากแรงดันที่เพิ่มจะกดให้ฟองไอยุบตัวกลับภายในเสี้ยววินาที

โดยแท้จริงแล้วคาวิเตชั่นจะไม่เกิดขึ้นถ้าหากปั๊มนั้นได้รับการออกแบบติดตั้งให้มี NPSH สูงกว่าที่ต้องการ แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วผลที่ตามมาอย่างแน่นอนก็คือประสิทธิภาพของปั๊มจะลดลง การกัดกร่อนชิ้นส่วนของใบพัดอาจเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าคาวิเตชั่นนั้นรุนแรงมากหรือน้อยและเกิดติดต่อกันเป็นเวลานานเท่าใด

สำหรับปั๊มแบบ เซนตริฟูกอล คาวิเตชั่นเป็นสิ่งที่ป้องกันได้โดยการพยายามหลีกเลี่ยงการติดตั้งหรือใช้งานในลักษณะดังต่อไปนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ คือ1. ให้ปั๊มทำงานที่เฮดต่ำกว่าเฮดของปั๊มที่จะให้ประสิธิภาพสูงสุดมาก เช่น ปั๊มทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุดที่ 30 เมตร แต่ปั๊มนั้นไปใช้งานที่มีเฮดเพียง 3 เมตร เป็นต้น
2.ให้ปั๊มทำงานที่อัตราการสูบสูงกว่าอัตราการสูบที่จะให่ประสิทธิภาพสูงสุดมาก
3.ระยะดูดยก ( suction lift ) มากกว่า NPSHa น้อยกว่าความต้องการของปั๊มตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดไว้
4 อุณหภูมิของของเหลวสูงกว่าค่าที่ใช้ในการออกแบบมาก
5. ความเร็วของใบพัดสูงกว่าที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดไว้มาก


สนใจติดต่อสอบถาม

fb : @GreatOrientalTrading
line@ : @gotrading
Mobile : 097-3619703

คำสำคัญ
#GOTก้าวสู่ปีที่50 #งานบริการหลังการขาย #ซ่อมบำรุง #งานออกแบบติดตั้งระบบ #ScrewPress #wastewatertreatment #GSD #Industrialart #Cavitation #คาวิเทชั่น #โพรงไอ

Our Customer